ประวัติความเป็นมาของโปรแกรม Dreamweaver | |||||
Adobe Macromedia Dreamweaver
ผู้พัฒนา อะโดบีซิสเต็มส์ (เริ่มพัฒนาโดย แมโครมีเดีย)
รุ่นเสถียร ล่าสุด CS4 (10.0) รุ่นทดลอง ล่าสุด (27 มีนาคม พ.ศ. 2550) โอเอส Windows Mac OS X ชนิด โปรแกรมแก้ไข HTML ลิขสิทธิ์ Closed source เว็บไซต์ http://www.adobe.com/
อะโดบี ดรีมวีฟเวอร์ (Adobe Dreamweaver) หรือชื่อเดิมคือ แมโครมีเดีย ดรีมวีฟเวอร์ (Macromedia Dreamweaver) เป็นโปรแกรมแก้ไข HTML พัฒนาโดยบริษัทแมโครมีเดีย
(ปัจจุบันควบกิจการรวมกับบริษัท อะโดบีซิสเต็มส์) สำหรับการออกแบบเว็บไซต์ ในรูปแบบ WYSIWYG กับการควบคุมของส่วนแก้ไขรหัส HTML ในการพัฒนาโปรแกรม ที่มีการรวมทั้งสองแบบเข้าด้วยกันแบบนี้ ทำให้ ดรีมวีฟเวอร์เป็นโปรแกรมที่แตกต่าง จากโปรแกรมอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน ในช่วงปลายปีทศวรรษ 2533 จนถึงปีพ.ศ. 2544 ดรีมวีฟเวอร์มีสัดส่วนตลาดโปรแกรมแก้ไข HTML อยู่มากกว่า 70% ดรีมวีฟเวอร์มีทั้งใน ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช และไมโครซอฟท์วินโดวส์ ดรีมวีฟเวอร์ยังสามารถทำงาน บนระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ ผ่านโปรแกรมจำลองอย่าง WINEได้ รุ่นล่าสุดคือ ดรีมวีฟเวอร์ CS4
การทำงานกับภาษาต่างๆ
ดรีมวีฟเวอร์ สามารถทำงานกับภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนเว็บไซต์แบบไดนามิค ซึ่งมีการใช้ HTML เป็นตัวแสดง ผลของเอกสาร เช่น ASP, ASP.NET, PHP, JSP และ ColdFusion รวมถึงการจัดการฐานข้อมูลต่างๆ อีกด้วย และใน เวอร์ชันล่าสุด (เวอร์ชัน CS4) ยังสามารถทำงานร่วมกับ XML และ CSS ได้อย่างง่ายดาย
รุ่นต่างๆ
Dreamweaver 1.0 (ธันวาคม ค.ศ. 1997) Dreamweaver 1.2 (มีนาคม ค.ศ. 1998) Dreamweaver 2.0 (ธันวาคม ค.ศ. 1998) Dreamweaver 3.0 (ธันวาคม ค.ศ. 1999) Dreamweaver UltraDev 1.0 (มิถุนายน ค.ศ. 2000) Dreamweaver 4.0 (ธันวาคม ค.ศ. 2000) Dreamweaver UltraDev 4.0 (ธันวาคม ค.ศ. 2000) Dreamweaver MX (พฤษภาคม ค.ศ. 2002) Dreamweaver MX 2004 (10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003) Dreamweaver 8 (13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005) Dreamweaver CS3 Dreamweaver CS4 | |||||
ที่มาของข้อมูลและภาพ : http://pirun.ku.ac.th/~g5166298/lesson5.html ความสามารถของโปรแกรม Dreamweaver การใช้งานเบื้องต้น (สิ่งที่ควรทราบ)
|
แถบคำสั่ง (Menu Bar) เป็นแถบที่ใช้เก็บคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม • แถบคำเครื่องมือ (Toolbar) รวบรวมปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อย • แถบวัตถุ (Object Palette) เป็นกลุ่มเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมวัตถุ บนชิ้นงาน เอกสารเว็บ เช่น เส้นกราฟิก (Horizontal Rule), ตาราง, รูปภาพ, เลเยอร์ (Layer) • แถบแสดงสถานะ (Status Bar) คอยแสดงสถานะการทำงานต่างๆ ของเรา • แถบควบคุมการทำงาน (Properties Palette) เป็นรายการที่ปรับเปลี่ยนได้ ตามลักษณะการเลือกข้อมูล เช่น หากมีการ เลือกที่จะพิมพ์ หรือแก้ไขเนื้อหา รายการก็จะเป็น ส่วนทำงานที่เกี่ยวกับอักษร, การจัดพารากราฟ ถ้าเลือกที่รูปภาพ รายการในแถบนี้ ก็จะเป็นคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การควบคุมเรื่องรูปภาพ • ส่วนของ Panel Group เป็นกลุ่มของแถบเครื่องมือที่สามารถเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ง่ายในการสร้าง Application บนอินเทอร์เน็ต เช่น การแทรก Code ของ JavaScript และ VBScript ลงในเว็บเพจได้อย่างง่ายๆ โดยสามารถเรียกใช้งานได้จาก Panel Group |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น